ตู้ไฟฟ้า MDB คืออะไร ?

          ตู้ไฟฟ้า MDB หรือที่เรียกกันว่า ตู้ระบบไฟฟ้าคอนโทรล คือตู้สวิทช์บอร์ด เป็นตู้ควบคุมระบบไฟฟ้าหลัก แผงระบบที่รับไฟจากการไฟฟ้าหรือไฟแรงดันต่ำของหม้อแปลงจําหน่าย ซึ่งจะมีอุปกรณ์ควบคุมไฟฟ้าต่างๆอยู่ในนั้น

          ตู้ไฟฟ้า MDB จะมีลักษณะที่ใหญ่และไม่เคลื่นย้ายมักจะว่างที่พื้น แนะนำควรเว้นช่องว่างพื้นหรือช่องว่างระหว่างตู้เพื่อให้การติดตั้งทำไงง่าย และสะดวกต่อการซ่อม หรือบำรุรักษา ของตู้ไฟฟ้า MDB

วัตถุประสงค์ของระบบตู้ไฟฟ้า MDB
1. การจ่ายกำลังไฟฟ้า
2. การป้องกันระบบไฟฟ้า
3. การแสดงสถานะการทำงาน
4. ระบบกำลังไฟฟ้าสำรอง


อุปกรณ์ประกอบ สำหรับตู้สวิทซ์บอร์ด (Accessories) มีหลายตัว ได้เเก่
1. Current Transformer (CT) สำหรับตู้สวิทซ์บอร์ด
2. Selector Switch สำหรับตู้สวิทซ์บอร์ด
3. Pilot Lamp สำหรับตู้สวิทซ์บอร์ด
4. Fuse สำหรับตู้สวิทซ์บอร์ด
5. ฉนวนรองบัสบาร์ สำหรับตู้สวิทซ์บอร์ด

ตู้สวิทซ์บอร์ดไฟฟ้า MDB ,DB ,EMDB


ตู้ไฟฟ้า MDB


 

 

บัสบาร์ (Busbar)
บัสบาร์ (Busbar) มีทั้งชนิดที่ตัวนำทำด้วยทองเเดงเเละอลูมิเนียม รูปร่างของบัสบาร์ที่นิยมใช้กันทั่วไปเป็นเเบบ Flat คือมีพื้นที่หน้าตัดเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า เนื่องจากติดตั้งง่าย ระบายความร้อนดีเเบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ บัสบาร์เเบบเปลือย เเละบัสบาร์เเบบทาสี
เซอร์กิตเบรกเกอร์ (Circuit Breaker)
เซอร์กิตเบรกเกอร์ สำหรับตู้สวิทซ์บอร์ดเเรงต่ำ เบรกเกอร์ที่ใช้ทั่วไปมี 2 เเบบ คือ Air CB ใช้เป็นเมนเบรกเกอร์ในวงจรที่ใช้กระเเสสูงเเละ Mold Case CB ใช้กับวงจรย่อยหรือใช้เป็นเมนเบรกเกอร์ในตู้สวิทซ์บอร์ดขนาดเล็ก
เครื่องวัดไฟฟ้า สำหรับตู้สวิทซ์บอร์ด (Meter)
เครื่องวัดพื้นฐานที่ใช้ในตู้ MDB ทั่วไป คือโวลต์มิเตอร์เเละเเอมมิเตอร์ ซึ่งต้องใช้งานร่วมกับ Selector Switch เพื่อวัดเเรงดันหรือกระเเสในเเต่ละเฟส พิกัดเเรงดันของโวลต์มิเตอร์ คือ 0-500V. ส่วนพิกัดกระเเสของเเอมมิเตอร์จะขึ้นอยู่กับอัตราส่วนของ Curren Transformer สำหรับตู้สวิทซ์บอร์ดขนาดใหญ่อาจมี P.F.Meter, Watt Meter หรือ Var Meter เพิ่มเติมขึ้นอยู่กับการออกเเบบตู้บางตู้ก็อาจติดตั้ง P.F.Controllerเพื่อควบคุมค่า Power Factor ในวงจรด้วย
อุปกรณ์ประกอบ สำหรับตู้สวิทซ์บอร์ด (Accessories) มีหลายตัว ได้เเก่
1. Current Transformer (CT) สำหรับตู้สวิทซ์บอร์ดอุปกรณ์ที่ใช้ประกอบการวัดกระเเสไฟฟ้าโดยต่อร่วมกับเเอมมิเตอร์ ที่ใช้ในตู้สวิทซ์บอร์ดนิยมใช้อัตราส่วนต่อ 5 เช่น 50/5, 100/5, ตู้ควบคุมปั๊มน้ำ เป็นต้น ปกติจะเลือก CT ตามขนาดของเมนเบรกเกอร์ โดยเลือกไม่ต่ำกว่าพิกัดของเมนเบรกเกอร์ ข้อควรระวังในการใช้ CT คือ ห้ามเปิดวงจรด้าน Secondary ของ CT เนื่องจากจะเกิดเเรงดันสูงตกคร่อมขดลวด เเละทำให้ CT ไหม้ได้หากไม่ใช้งานต้องลัดวงจรขั้วทั้งสองของ CT เสมอ
2. Selector Switch สำหรับตู้สวิทซ์บอร์ดโดย Ammeter Selector Switch จะใช้ร่วมกับ CT เเละ Panel Ammeter เพื่อวัดกระเเสในตู้สวิทซ์บอร์ดส่วน Voltmeter Selector Switch จะใช้ร่วมกับ Panel Voltmeter เพื่อวัดเเรงดันภายในตู้การต่อวงจรดูจากไดอะเเกรมที่มาพร้อมกับอุปกรณ์ เพราะเเต่ละยี่ห้ออาจมีวิธีการต่อที่เเตกต่าง
3. Pilot Lamp สำหรับตู้สวิทซ์บอร์ดเป็นหลอดที่เเสดงสถานการณ์ทำงาน เพื่อบอกให้รู้ว่ามีไฟจ่ายเข้ามายังตู้สวิทซ์บอร์ดหรือไม่ Pilot  Lamp มี 2 เเบบ คือ เเบบมีหม้อเเปลงเเรงดัน เเละเเบบไม่มีหม้อเเปลงเเรงดัน เเบบมีหม้อเเปลงเเรงดันจะลดเเรงดันให้ต่ำลง เพื่อให้เหมาะสมกับเเรงดันหลอดเช่น 220/6.3V. เป็นต้น
4. Fuse สำหรับตู้สวิทซ์บอร์ดฟิวส์เป็นหลอดเเก้วใช้ป้องกันวงจรเครื่องวัดไฟฟ้าเเละหลอด Pilot Lamp
5. ฉนวนรองบัสบาร์ สำหรับตู้สวิทซ์บอร์ด เป็นฉนวนรองรับบัสบาร์ โดยด้านหนึ่งยึดติดกับโครงตู้สวิทซ์บอร์ดอีกด้านยึดบัสบาร์ไว้มีหลายชนิดให้เลือกใช้ให้เหมาะสมกับบัสบาร์เเต่ละเเบบ


ตู้เเผงควบคุมไฟฟ้ารอง หรือ SDB,DB (Sub Distribution Board)
ตู้ควบคุมไฟฟ้ารอง จ่ายกระเเสไฟฟ้าไปตามตู้ PB. (Panel board) หรือ Load Center หลายๆตู้ขึ้นอยู่กับขนาดของอาคารลักษณะคล้ายกับ ตู้สวิทซ์บอร์ดเเต่มีขนาดเเละพิกัดของตู้เล็กกว่า เเละอุปกรณ์ทางไฟฟ้าภายในก็ลดหลั่นลงมา LP (Load Panel) หรือเเผงควบคุมไฟฟ้าย่อยใช้ควบคุมส่วนของวงจรไฟฟ้าย่อยในห้องที่ต้องการควบคุม Load Panel หรือในส่วนที่ต้องการควบคุมจะมี Circuit breaker หลายตัววางเรียงกันอยู่ในกล่องส่งผลให้มีขนาดเล็ก ในบางอาคารอาจใช้ Load Panel ควบคุมเเทน SDB Load Panel เเบ่งได้ดังนี้


1) Load Panel 3 Phase เรียกว่า Load Center,LPหรือ PB เป็นเเผง Circuit breaker ที่ควบคุมการจ่ายกระเเสไฟฟ้าให้กับเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ มีหลายขนาดขึ้นอยู่กับจำนวนของ Load
2) Load Panel 1 Phase เรียกว่า Consumer Unit เป็นเเผงไฟฟ้าสำเร็จรูปนิยมใช้ในบ้านหรือสำนักงานขนาดเล็กที่ใช้ไฟฟ้าระบบ 1 เฟส 220 โวลท์


     ตู้ MCC (Motor Control Center) หมายถึงตู้เเบบตั้งพื้นที่ประกอบไปด้วยตู้เเนวตั้งเเละเป็นที่รวมของชุดควบคุมมอเตอร์ โดยชุดควบคุมมอเตอร์จะติดตั้งเหนือชุดควบคุมมอเตอร์อื่นๆ ในเเนวตั้งเเละชุดควบคุมมอเตอร์เหล่านี้จะมีบัสในเเนวตั้งที่ต่อเข้ากับบัสกำลังในเเนวนอน

     ตู้ PFC (Power-factor-Correction) ในระบบไฟฟ้ากำลังการปรับปรุงค่าเพาเวอร์เเฟคเตอร์ มีความสำคัญอย่างยิ่ง เนื่องจากเป็นตัวที่ทำให้ค่าใช้จ่ายต่างๆ เพิ่มขึ้นหรือลดลงได้ ระบบไฟฟ้าที่มีค่าเพาเวอร์เเฟคเตอร์ต่ำจะมีความสูญเสียในระบบมากดังนั้น อุปกรณ์ที่นำมาใช้งานจำเป็นต้องมีขนาดใหญ่ขึ้นทำให้ค่าใช้จ่ายในการซื้ออุปกรณ์ต่างๆ เพิ่มขึ้น เพราะฉะนั้นการปรับปรุงค่าเพาเวอร์เเฟคเตอร์ให้มีค่าสูงขึ้นจึงมีความจำเป็นต่ออาคารสำนักงานเเละโรงงานอุตสาหกรรมนั้นๆ ความเป็นจริงในอาคารหรือโรงงานอุตสาหกรรมต้องการกำลังไฟฟ้าจริง (Real Power) เเละกำลังไฟฟ้ารีเเอคทีฟ (Reactive-Power) เพื่อใช้ในการทำงาน
Console and Control Desk
สำหรับใช้ในห้องควบคุมเครื่องจักรส่วนกลางมีวงจรการทำงานเเสดงสถานะการทำงานของเครื่องจักรในส่วนต่างๆ จะเเสดงสถาะอย่างเดียวหรือให้สั่งการด้วยก็ได้


แบรนด์ที่จำหน่าย Local, อุปกรณ์ ABB, SCHNEIDER, MITSUBISHI

           


สามารถติดต่อได้ที่ บริษัท ไทยเวสเทค จำกัด
thaivestec.brandexdirectory.com
http://thaivestec-tvt.com/Products

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *